เสรีพิศุทธ์ มือปราบทุจริต ส่งทีม กมธ.ป.ป.ช.ลงพื้นที่เหมืองแร่ โรงโม่หินสัมปทานกองทัพเรือ สัตหีบ ชลบุรี
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 “ผู้การเสรี” มือปราบทุจริต ส่งทีม กมธ.ป.ป.ช.ลงพื้นที่เหมืองแร่ โรงโม่หินสัมปทานกองทัพเรือ สัตหีบ ชลบุรี หลังสอบพบทุจริตย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบพบข้อบกพร่องความผิดวินัยการเงิน การคลัง ทำเหมืองไม่ใช่ภารกิจของทหาร เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี พ.ร.บ.แร่ 2560 ล่าสุดกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ชี้ชัดกองทัพเรือไม่สามารถต่ออายุประทานบัตรได้
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจส่วนกลาง รายงานเข้ามาว่า “ผู้การเสรี” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.)สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงนาม ในหนังสือ ที่ สผ.0019.05/2696 แจ้งมายัง นายภัครธรรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เรื่องการเดินทางไปศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ในพื้นที่โรงโม่หิน สัมปทานกองทัพเรือ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในวันจันทร์ และวันอังคาร ที่ 28-29 มีนาคม 2565 เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการทำสัมปทานผลิตหิน และจำหน่ายหินของกองทัพเรือ
ซึ่งในวันนี้ นายจารึก ศรีอ่อน รองประธานคณะกรรมาธิการฯ นายสุทา ประทีป ณ ถลาง รองประธานฯ นายวิทยา ทรงคำ ที่ปรึกษาฯ นายธีรัจชัย พันธุมาศ โฆษกฯ นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ เลขานุการฯ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ปรึกษาส่วนตัว พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พร้อมทั้งนักวิชาการ ที่ปรึกษาประจำคณะ ข้าราชการสำนักงานเลขานุการสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมายังโรงโม่หิน สัมปทาน กองทัพเรือ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยได้เชิญ พล.ร.ท.นฤพล เกิดนาค ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ พล.ร.ท.ประสาทพร สาทรกิจ ผู้จัดการกิจการหิน สัมปทานกองทัพเรือ อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี นายกเทศมนตรีตำบลเขตอุดมศักดิ์ และผู้แทนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบพื้นที่จริง พร้อมร่วมรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการ และขั้นตอนการทำสัมปทานผลิต และจำหน่ายหินของกองทัพเรือ
ผู้สื่อข่าวส่วนกลางรายงานว่า จากกรณีที่ คณะของ กมธ.ป.ป.ช. ได้ลงพื้นที่โรงโม่หิน สัมปทานกองทัพเรือ ในครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมาธิการฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เอื้อประโยชน์ให้กับ นายรัฐศาสตร์ ผ่องแผ้ว ประธานบริษัท อัครโชติภูมิ จำกัด จึงชนะการประมูล และได้ส่ง นายไพโรจน์ มาลากุล ณ อยุธยา นายกเทศมนตรีเขตอุดมศักดิ์ พี่เขย พล.ร.อ.ลือชัยฯเข้ามาเป็นที่ปรึกษา เข้ามาดูแลผลประโยชน์, บริษัทไม่มีความรู้ ความสามารถในการทำเหมือง ,บริษัทฯไม่มีเครื่องจักรในการผลิตหิน , บริษัทฯ ขาดดุลติดหนี้ค่าปรับกองทัพเรือกรณีผิดสัญญา, สุดท้ายได้มีการกล่าวหาว่าบริษัทฯทุจริต ลักลอบขโมยมูลดินออกไปด้านนอกเหมือง ซึ่งทาง กมธ.ป.ป.ช.ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งฝ่ายทหาร และเอกชน มาสอบข้อเท็จจริง พร้อมเอกสารมายืนยัน ปรากฏว่า เรื่องที่ร้องเรียนทั้งหมดไม่เป็นความจริง แต่เรื่องสุดท้ายการทุจริตดิน เป็นประเด็นที่ คณะ กมธ.ป.ป.ช.เกิดความสงสัย จึงได้มีการตรวจสอบพบมูลเหตุเรื่องการจำหน่ายดินของกองทัพเรือ ไม่เคยนำส่งรายได้เข้าสวัสดิการ และกระทำความผิดเรื่องวินัยการเงิน และการคลัง ซึ่งทางด้าน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็ให้ความเห็นแล้วว่า การทำเหมืองแร่และขอเวลาการร่บรวมข้อ มูลในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ในระยะเวลา30วัน
ในภารกิจของกองทัพ และผิดมาตรา 75 รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึงอย่างเป็นธรรมฯ หรือรัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะแข่งขันกับเอกชน อีกทั้งยังระบุว่า กองทัพเรือทำผิดวินัยการการเงิน การคลัง จึงพิจารณาให้กองทัพเรือยกเลิกกิจการหิน พร้อมชดใช้คู่กรณี ที่เป็นเอกชนโดยใช้เงินจากกองทุนสวัสดิการภายในของกองทัพเรือ อีกทั้งต้องฟื้นฟู ปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่เหมืองให้คงเดิม อีกด้วย
นายจารึก ศรีอ่อน รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้กล่าวว่า การลงพื้นที่มาตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในเหมืองแร่ หรือ โรงโม่หิน สัมปทานกองทัพเรือ ในวันนี้นั้น เพราะได้รับมอบหมายจากท่าน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ประธาน กมธ.ป.ป.ช.ให้ลงพื้นที่จริง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยย้อนอดีตตั้งแต่เริ่มกิจการว่าใช้อะไรเป็นกฎ กติกาในการประกอบกิจการนี้ของกองทัพเรือ เพราะจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีที่มีผู้ร้องเรียน โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ป่าไม้ กรมธนารักษ์ กรมอุตสาหกรรม สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มาให้ข้อคิดเห็นแนวทางปฏิบัติของโรงโม่หิน สัมปทานกองทัพเรือ และข้อกฎหมาย เรียบร้อยแล้ว และระบุว่า ไม่ใช่ภารกิจของกองทัพเรือในการประกอบกิจการหิน แข่งกับเอกชน ตามมาตรา 75 อีกทั้งยังตรวจพบว่า จากการทำเหมืองจะต้องขุดหน้าดินออกก่อนถึงพื้นหิน ดินที่ขุดออกไปขายตั้งแต่ปี 2553 ไม่พบว่ามีการนำส่งเงินเข้าในระบบสวัสดิการแต่อย่างใด