โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านโรคมะเร็ง ครั้งที่ 13

        เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 15 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมทรายมณี โรงแรมลองบีช การ์เด้นท์ แอนด์สปา พัทยา จ.ชลบุรี  นายแพทย์ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิชาการต้านโรงมะเร็งครั้งที่ 13 โดยได้เชิญ นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม

นายแพทย์ปิยวัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุปันโรคมะเร็งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่ วันละ 381 ราย หรือ 139,206 รายต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 ราย หรือ 84,073 รายต่อปี โดยมะเร็งที่พบมาที่สุด 5 อันดับแรก คือมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ตรง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลมะเร็งในส่วนภูมิภาค 7 แห่ง จึงพัฒนาการดำเนินงานทุกด้านเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค ภายในภารกิจการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สมคุณค่า ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการในทุกส่วนภาคเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทางการแพทย์ของประเทศสู่มาตรฐานสากล  

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่อข้อสอบถามถึงสถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย  “คนไทยเป็นมะเร็งรายใหม่วันละ 380 คน หรือกว่า 140,000 คนต่อปี เสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,000 คนต่อปี  อุบัติการณ์โรคมะเร็งในชายไทยพบ 170 คนต่อประชากร 100,000 คน หญิง พบ 160 คนต่อประชากร 100,000 คน ในส่วนพื้นที่ภาคตะวันออก ชาย 182 คนต่อประชากร 100,000 คน หญิง 177 คน ต่อประชากร 100,000 คน ชายไทยพบมากที่สุดได้แก่มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง รองลงมาได้แก่มะเร็งตับและท่อน้ำดี ส่วนมะเร็งที่พบมาที่สุดในหญิง ได้แก่มะเร็งเต้านม รองลงมาคือมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

ผู้สื่อข่าวถามว่า การคัดกรองโรคมะเร็งในปัจจุปัน สามารถคัดกรองโรคใดได้บ้าง นพ.วีรวุฒิ ตอบว่า “มะเร็งปากมดลูก ตรวจด้วยวิธี PAP SMEAR หรือ HPV DNA test มะเร็งเต้านม ตรวจเต้านมตัวเอง หรือโดยบุคลากรการแพทย์ ตรวจด้วยเครื่อง  Mammogram ตรวจค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง และญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ มะเร็งลำไส้ ตรวจหาเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระ  มะเร็งช่องปาก ตรวจโดยบุคลากรการแพทย์ ผู้สื่อข่าวถามว่า การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุปันมีวิธีใดบ้าง

นพ.วีรวุฒิ กล่าวว่า “ปัจจุปันเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปมาก ทำให้มีแนวทางการรักษาแบ่งเป็น 8 ประเภท 1.การรักษาด้วยศัลยกรรม 2. การรักษาด้วยรังสีรักษา 3.การรักษาด้วยเคมีบำบัด 4.การรักษาด้วยยามุ่งเป้า มีรูปแบบให้ทางหลอดเลือดและรับประทาน 5.การักษาเฉพาะจุด ใช้อุปกรณ์จี้ทำราย หรือฉีดยาอุดกั้นเส้นเลือด 6.การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด 7.การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด เช่นในกลุ่มมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 8.การใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดี -131 คือการกลืนแร่รักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *